15 เมษายน 1912 ของ การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก

เตรียมพร้อมสละเรือ

กัปตันเอ็ดเวิร์ด เจ. สมิธ ในปี 1911

เมื่อเวลา 00:05 น. ของวันที่ 15 เมษายน กัปตันสมิธสั่งให้เปิดใช้เรือชูชีพและรวมพลผู้โดยสาร[60] นอกจากนี้ เขายังสั่งให้พนักงานวิทยุเริ่มส่งข้อความขอความช่วยเหลือ ข้อความดังกล่าวได้ระบุต่ำแหน่งของเรือผิดพลาดโดยระบุว่าอยู่ด้านตะวันตกของแนวน้ำแข็ง ทำให้ผู้ช่วยเหลือเดินทางไปยังตำแหน่งที่ผิดไปประมาณ 13.5 ไมล์ทะเล (15.5 ไมล์; 25.0 กม.) [20][71] ใต้ดาดฟ้าเรือ น้ำได้ไหลลงสู่จุดต่ำสุดของเรือ เช่น ห้องไปรษณีย์ที่ถูกน้ำท่วม ที่ซึ่งพนักงานคัดแยกจดหมายพยายามรักษาไปรษณีย์ 400,000 ชิ้นบน ไททานิก อย่างสุดความสามารถ ในที่อื่นๆ สามารถได้ยินเสียงอากาศที่ถูกน้ำเข้าแทนที่[72] เหนือพื้นที่เหล่านั้น บริกรได้เดินไปตามทางจากประตูสู่ประตู เพื่อปลุกผู้โดยสารและลูกเรือที่นอนหลับและบอกให้พวกเขาขึ้นไปที่ดาดฟ้าเรือ เนื่องจาก ไททานิก ไม่มีระบบเสียงประกาศสาธารณะ[73]

การแจ้งรวมพลขึ้นกับชั้นของผู้โดยสารเป็นอย่างมาก บริกรชั้นเฟิร์สต์คลาสรับผิดชอบเพียงสองสามห้องเท่านั้น ขณะที่ผู้รับผิดชอบผู้โดยสารชั้นสองและชั้นสามนั้นต้องจัดการคนจำนวนมาก บริกรชั้นเฟิร์สต์คลาสได้เข้าช่วยจัดเก็บกระเป๋าเดินทางและนำขึ้นไปบนดาดฟ้าเรือด้วย แต่บริกรชั้นสองและสามส่วนใหญ่ทำได้เพียงเปิดประตูและบอกผู้โดยสารให้สวมเสื้อชูชีพและขึ้นไปด้านบน ในชั้นสามผู้โดยสารส่วนใหญ่จะถูกทิ้งไว้ทันทีเนื่องด้วยมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องจัดการ หลังจากได้รับแจ้งถึงความจำเป็นที่จะต้องขึ้นไปบนดาดฟ้าเรือ[74] ผู้โดยสารและลูกเรือจำนวนมากลังเลที่จะปฏิบัติตาม ปฏิเสธที่จะเชื่อว่าเกิดปัญหาขึ้น หรือขออยู่ในเรือที่อบอุ่นดีกว่าออกไปเผชิญอากาศที่หนาวเหน็บยามค่ำคืน เหล่าผู้โดยสารไม่ได้รับแจ้งเลยว่าเรือกำลังจม แต่มีไม่กี่คนที่สังเกตเห็นว่าเรือเอียง[73]

ราว 00:15 น. บริกรสั่งให้ผู้โดยสารสวมเสื้อชูชีพ[75] ซึ่งผู้โดยสารจำนวนมากมองว่าเป็นเรื่องตลก[73] ผู้โดยสารบางกลุ่มได้ร่วมเล่นฟุตบอลโดยใช้ชิ้นน้ำแข็งที่ตอนนี้ตกเกลื่อนไปทั่วส่วนหน้าของดาดฟ้าเรือต่างลูกฟุตบอล[76] บนดาดฟ้าเรือขณะที่ลูกเรือเริ่มเตรียมเรือชูชีพ เสียงไอน้ำแรงดันสูงที่ระบายออกจากหม้อไอน้ำและปล่อยออกมาทางปล่องเรือด้านบนดังเป็นอย่างมา จนยากที่จะได้ยินเสียงอะไรอื่นอีก ลอว์เรนซ์ บีส์ลีย์ (Lawrence Beesley) บรรยายเสียงนี้ไว้ว่า "เสียงที่ดังกึกก้องและเสียงอึกทึกที่ทำให้การสนทนาเป็นเรื่องยาก ให้จินตนาการว่าหัวรถจักร 20 หัวปล่อยไอน้ำในคีย์เสียงต่ำ นั่นแหละคือเสียงที่ไม่พึงประสงค์ที่เราประสบในขณะที่เราปีนขึ้นไปบนดาดฟ้าเรือ"[77] เสียงนั้นดังมากจนลูกเรือต้องใช้สัญญาณมือเพื่อสื่อสาร[78]

ไททานิก มีเรือชูชีพทั้งสิ้น 20 ลำ ประกอบไปด้วยเรือไม้ 16 ลำบนหลักเดวิท (เสาแขวนเรือ) ข้างลำเรือด้านละ 8 ลำ และเรือชูชีพพับได้ 4 ลำที่พื้นเป็นพื้นไม้และด้านข้างเป็นผ้าใบ[73] ซึ่งเรือชูชีพพับได้ถูกเก็บรักษาในลักษณะที่พับไว้และคว่ำลง ก่อนใช้งานต้องทำการติดตั้งและย้ายไปยังหลักเดวิทเพื่อปล่อยเรือ[79] สองลำถูกเก็บไว้ใต้เรือไม้ อีกสองลำถูกเก็บไว้บนห้องพักของเจ้าหน้าที่[80] ซึ่งสองลำหลังทำการปล่อยเรือได้ยากมากเนื่องจากแต่ละลำมีน้ำหนักหลายตันและต้องใช้แรงงานคนเพื่อนำลงไปที่ดาดฟ้าเรือ[81] โดยเฉลี่ยแล้วเรือชูชีพสามารถรองรับได้ถ 68 คนต่อลำ และเมื่อรวมกันแล้วสามารถรองรับได้ 1,178 คน เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนคนบนเรือ หรือหนึ่งในสามของจำนวนผู้โดยสารสูงสุดที่เรือได้รับอนุญาต ปัญหาการขาดแคลนเรือชูชีพไม่ได้เกิดจากการไม่มีพื้นที่หรือเพราะค่าใช้จ่าย ไททานิก ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับเรือชูชีพได้ถึง 68 ลำ[82] ซึ่งเพียงพอสำหรับทุกคนบนเรือและราคาของเรือชูชีพ 32 ลำ มีราคาอยู่ที่ 16,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น (เทียบเท่ากับ 424,000 ดอลลาร์ในปี 2019)[83] ซึ่งคิดเป็นเศษของเงิน 7.5 ล้านดอลลาร์ที่บริษัทใช้ไปกับ ไททานิก เท่านั้น

ในเวลานั้น เรือชูชีพมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารจากเรือที่ประสบปัญหาไปยังเรือที่อยู่ใกล้เคียงเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน[84][lower-alpha 6] ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เรือเดินสมุทรจะมีเรือชูชีพน้อยกว่าจำนวนผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด จากเรือเดินสมุทรอังกฤษ 39 ลำที่มีความยาวมากกว่า 10,000 ตัน มีถึง 33 ลำที่มีเรือชูชีพน้อยเกินไปที่จะรองรับทุกคนบนเรือ[86] ไวต์สตาร์ไลน์ต้องการให้เรือมีดาดฟ้าพักผ่อนที่กว้างพร้อมมองเห็นวิวทิวทัศน์ของทะเลโดยไม่มีแถวเรือชูชีพมาบดบัง[87]

กัปตันสมิธเป็นนักเดินเรือที่มีประสบการณ์ ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลาถึง 40 ปีในทะเลซึ่งรวมถึง 27 ปีในการเป็นผู้บังคับบัญชาด้วย เหตุการณ์นี้เป็นวิกฤตครั้งแรกในอาชีพของเขาและเขารู้ดีว่าแม้ว่าจะบรรทุกคนเต็มลำเรือชูชีพทั้งหมด แต่ก็จะมีคนมากกว่าหนึ่งพันคนที่ยังคงเหลืออยู่บนเรือขณะที่เรือจมลง ซึ่งคนเหล่านี้มีโอกาสรอดเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลย[60] บางแหล่งข้อมูลอ้างว่า เมื่อกัปตันสมิธตระหนักถึงความร้ายแรงของเหตุกรณ์ที่เกิดขึ้น สมิธถึงกับตัวแข็งตะลึงงัน และไม่ได้เข้าช่วยเหลือในการป้องกันการสูญเสียชีวิต[88][89] แต่ตามแหล่งข้อมูลอื่น กัปตันสมิธมีความรับผิดชอบและดำเนินการอย่างเต็มที่ในช่วงวิกฤต หลังจากการชน กัปตันสมิธได้เริ่มการตรวจสอบความเสียหายทันที โดยทำการตรวจสอบถึงสองครั้งด้านล่างดาดฟ้าเรือเพื่อค้นหาความเสียหาย และให้พนักงานวิทยุเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นไปได้ที่จะต้องขอความช่วยเหลือ เขาสั่งให้ลูกเรือของเขาเริ่มเตรียมเรือชูชีพสำหรับการอพยพและให้ผู้โดยสารสวนชูชีพก่อนที่เขาจะได้รับแจ้งจากแอนดรูวส์ว่าเรือกำลังจะจมเสียอีก กัปตันสมิธเข้าสังเกตการรอบ ๆ ดาดฟ้าเรือ ตรวจตราดูแลและช่วยเหลือผู้โดยสารลงเรือชูชีพ ปฏิสัมพันธ์กับผู้โดยสาร และสร้างความสมดุลระหว่างความเร่งด่วนในการอพยพและพยายามห้ามปรามความตื่นตระหนก[90]

ต้นเรือที่สี่ โจเซฟ บ็อกซ์ฮอล ได้รับแจ้งจากกัปตันสมิธราว 12:25 ว่าเรือกำลังจะจม[91] ขณะที่นายกราบ จอร์จ โรว์ (George Rowe) ไม่ได้รับรู้ถึงเหตุ เมื่อการอพยพเริ่มขึ้น เขาจึงโทรศัพท์ไปที่สะพานเดินเรือจากสถานีเฝ้าระวังเพื่อถามว่าทำไม เขาเพิ่งเห็นเรือชูชีพแล่นผ่านไป[92] ลูกเรือไม่พร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน เนื่องจากได้รับการฝึกมาเพียงเล็กน้อย ลูกเรือได้รับการฝึกการซ้อมหนีภัยบนเรือเพียงครั้งเดียวขณะที่เรือเทียบท่าอยู่ที่เซาแทมป์ตัน ซึ่งเป็นการฝึกอย่างหยาบๆ ที่ใช้เรือชูชีพเพียงสองลำ แต่ละลำมีเจ้าหน้าที่หนึ่งคนและชายสี่คนพายเรือไปรอบๆท่าเรือเพียงไม่กี่นาทีก่อนจะกลับไปที่เรือ นอกจากนี้ เรือชูชีพที่ควรจะมีเสบียงฉุกเฉินนั้น ผู้โดยสาร ไททานิก กลับพบว่ามีเสบียงเพียงบางส่วนเท่านั้น จากความพยายามของเชฟขนมอบ ชาร์ลส์ โจจิน (Charles Joughin) และพนักงาน[93] ไม่มีการซ้อมหนีภัยหรือซ้อมดับเพลิงตั้งแต่ ไททานิก ออกจากเซาแธมป์ตัน[93] มีกำหนดการฝึกซ้อมหนีภัยในเช้าวันอาทิตย์ก่อนที่เรือจะอับปาง แต่กัปตันสมิธได้ยกเลิกโดยไม่ทราบสาเหตุ[94]


การออกเดินทางของเรือชูชีพ

เรือชูชีพลำสุดท้าย

นาทีสุดท้ายก่อนอับปาง

วาระสุดท้ายของ ไททานิก

ผู้โดยสารและลูกเรือในน้ำ

การช่วยชีวิตและการออกเดินทาง

เรือชูชีพพับได้ ดี ถ่ายจากดาดฟ้าเรือ คาร์เพเทีย ในตอนเช้าวันที่ 15 เมษายน 1912

ผู้รอดชีวิตของเรือ ไททานิก ได้รับการช่วยเหลือในเวลาประมาณ 04:00 น. วันที่ 15 เมษายนโดยอาร์เอ็มเอส คาร์เพเทีย ที่แล่นด้วยความเร็วเต็มที่มาตลอดคืนบนเส้นทางเสี่ยงอันตราย ซึ่งเรือต้องเลี้ยวหลบภูเขาน้ำแข็งหลายลูกตลอดเส้นทางมายังจุดอับปาง[95] แสงไฟจาก คาร์เพเทีย ถูกพบครั้งแรกราวเวลา 03:30 น.[95] ซึ่งสร้างกำลังใจให้ผู้รอดชีวิตเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงกว่าที่ทุกคนจะถูกพาขึ้นเรือ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก http://www.titanicology.com/Titanica/FireDownBelow... https://www.nytimes.com/2012/04/10/science/a-new-l... https://www.navcen.uscg.gov/?pageName=iipWhereIsIc... http://www.titanicinquiry.org/BOTInq/BOTInq19Wildi... http://www.titanicinquiry.org/USInq/AmInq12White01... https://www.americanantiquarian.org/proceedings/44... https://www.americanantiquarian.org/proceedings/44... https://www.minneapolisfed.org/about-us/monetary-p... https://www.telegraph.co.uk/history/10581757/Lost-... https://web.archive.org/web/20180616120535/https:/...